Pharmacy Division Ramathibodi Hospital

Home
Pharmacist
About
รอบรู้เรื่องยา
คุยกันเรื่องยา

การใช้ยารักษาตนเองในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ


ภญ. ศุภศิล สระเอี่ยม


ในยามที่ร่างกายเจ็บป่วยเป็นโรค วิธีบำบัดที่ดีที่สุด คือการวินิจฉัยและตรวจรักษาโดยแพทย์ แต่ในยามที่ประเทศชาติประสพภาวะวิกฤติ อันเนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินบาทในปัจจุบัน ส่งผลให้ยารักษาโรคและอุปกรณ์การแพทย์มีราคาสูงขึ้นอย่างมาก อีกทั้งรัฐบาลและภาคเอกชน จำเป็นต้องตัดงบประมาณด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลลง ทำให้ผู้ป่วยแต่ละราย ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายสูงเป็นทวีคูณ โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องประสพปัญหาการว่างงาน การดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง มิให้เจ็บไข้ได้ป่วย หรือการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไม่ซับซ้อนได้ด้วยตนเอง จะช่วยแบ่งเบาภาวะของผู้ป่วยในการดำรงชีวิตในยุคนี้ได้อย่างมาก

บทความนี้จะนำเสนอวิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละท่าน โดยการแนะนำวิธีใช้ยาสามัญที่ราคาไม่แพง ในการบำบัดรักษาอาการเบื้องต้น ลดความจำเป็นในการพบแพทย์ตามสถานพยาบาล แบ่งภาระค่าใช้จ่าย และช่วยให้ท่านดำรงชีวิตผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้อย่างมีความสุข

การใช้ยาให้ถูกต้อง

1. ใช้ยาให้ถูกวิธีหรือถูกทาง 2. ใช้ยาให้ถูกกับโรค ไม่ควรใช้ยาตามคำแนะนำของเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิด ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคและยาอย่างแท้จริง เพราะอาการแสดงของโรคหลายชนิด มีลักษณะคล้ายกัน แต่อาจมิใช่โรคเดียวกัน
3. ใช้ยาให้ถูกขนาด และถูกเวลา
ฉลากยามีความสำคัญอย่างไร

ก่อนใช้ยา ควรอ่านฉลากยาให้เข้าใจ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาเพราะบนฉลากยาจะมีข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับยา  ดังนี้
1. ชื่อของยา
2. วิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง
3. ข้อควรระมัดระวัง และข้อปฏิบัติในการใช้ยา เช่น

ควรใช้ยาเป็นเวลานานเท่าใด

ระยะเวลาในการใช้ยาจะนานเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าต้องการใช้ยานั้นรักษาอาการหรือรักษาโรคอะไร ซึ่งพอสรุปได้ว่า

1. ยาที่ใช้เพื่อระงับหรือบรรเทาอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด ลดไข้ อาจหยุดยาได้ หากไม่มีไข้แล้ว หรืออาการปวดหายไป
2. ยาที่จำเป็นต้องกินให้ครบตามเวลาที่กำหนดให้ เช่น ยาปฏิชีวนะจะต้องกินติดต่อกันอย่างน้อยเป็นเวลา 5-7 วัน แม้ว่าจะไม่มีอาการไข้หรืออักเสบแล้วก็ตาม มิฉะนั้นเชื้อโรคจะเจริญเติบโต ทำให้เกิดอาการขึ้นอีกหลังจากหยุดยาก่อนกำหนด และอาจเกิดปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยา
3. ยาบางอย่างจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเวลานาน หรืออาจจำเป็นต้องใช้ตลอดชีวิตได้แก่ ยาที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ
 
ยาลดกรด

ยาลดกรดเป็นยาที่ใช้แก้อาการปวดท้อง จุก เสียด แน่น เนื่องจากมีกรดหรือแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบ
 ยาลดกรดมีทั้งชนิดเม็ดและยาน้ำแขวนตะกอน มีความปลอดภัยในการใช้ค่อนข้างสูง

ส่วนประกอบของยาลดกรด
 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาลดกรด  ปฏิกิริยาต่อกันของยาลดกรดต่อยาอื่น ๆ

ยาลดกรดอาจทำปฏิกิริยาต่อยาอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
1. ยาลดกรดกับยากลุ่ม เตตร้าไซคลิน ยาลดกรดจะยับยั้งการดูดซึมของยาเตตร้าไซคลิน   ทำให้การรักษาอาการติดเชื้อหรืออักเสบไม่ได้ผล
2. ยาลดกรดกับดิจอกซิน และดิจิทอกซิน
3. ยาลดกรดกับยาระบายดัลโคแลกซ์ (Dulcolax)
ผู้ป่วยไม่ควรใช้ยาลดกรดรักษาตนเองในกรณีต่อไปนี้
 1. มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
 2. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือมีไข้ร่วมด้วย
 3. มีอาการปวดท้องเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ มานาน
 4. มีอาการที่แสดงถึงโรคแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออกหรือมีการอุดตันในทางเดินอาหาร
 5. มีน้ำหนักตัวลดอย่างชัดเจน

การปฏิบัติตนที่ถูกวิธีสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร


 1. พยายามรับประทานอาหารให้เป็นเวลา
 2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด
 3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ระคายเยื่อบุทางเดินอาหาร
 4. งดสูบบุหรี่
 5. ไม่เคร่งเครียดหรือหงุดหงิดง่าย
 
ยาระบาย

เป็นยาที่ไปเร่งการขับถ่ายอุจจาระทำให้ถ่ายง่ายขึ้น โดยมีกลไกการออกฤทธิ์หลายวิธี เช่น    อาจเพิ่มปริมาณกากของอุจจาระ, กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ หรือทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง

สาเหตุของอาการท้องผูก

อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
 1. ไม่ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นปกติวิสัย
 2. รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง
 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
 4. มีความเครียด
 5. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวดที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น     ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมและแคลเซียม
 6. การอยู่เฉย ๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว หรือนอนบนเตียงนาน ๆ
 7. การใช้ยาระบายอย่างผิด ๆ

ชนิดของยาระบาย


 1. กลุ่มยาที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อน (Bulk-Forming Laxatives) เช่น เมตามิวซิล (Metamucil)
 2. กลุ่มยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Emollient Laxatives)
 3. กลุ่มยาที่ช่วยหล่อลื่นอุจจาระ (Lubricant Laxatives) ได้แก่ น้ำมันแร่ (Minersl oil)
 4. กลุ่มยาระบายที่เป็นพวกเกลือ (Saline Laxatives) เช่น ยาระบายแมกนีเซีย   (Milk of Magnesia)
 5. กลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นและทำให้ระคายเคือง (Stimulant Laxatives) เช่น   6. ยาเหน็บกลีเซอริน (Glycerin Suppository)
 7. กลุ่มยาสวนทวารหนัก
 อาการท้องผูกสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องพึ่งยา การรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา จะช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ ควรใช้ยาระบายเฉพาะเท่าที่จำเป็น อย่าใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกิน 1-2 สัปดาห์ เพราะจะทำให้ติดยาได้



ยาบำบัดอาการท้องเดิน

โดยทั่วไปอาการท้องเดินอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา เพราะร่างกายมีกลไกที่ทำให้หายเองได้ เพียงแต่ระวังอย่าให้ร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะในรายที่มีการอาเจียนร่วมด้วย องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) ละลายน้ำดื่มทดแทนการเสียน้ำ

ชนิดของยาบำบัดอาการท้องเดิน


ยาบำบัดอาการท้องเดินอาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
 1. ยาที่ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง  ยากลุ่มนี้ไม่ควรใช้กับอาการท้องเดินที่มีสาเหตุมาจากสารพิษ หรือการติดเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เพราะจะทำให้เชื้อหรือสารพิษอยู่ในร่างกายนานขึ้น เช่น โลโมติล (Lomotil)  อิโมเดียม (Imodium)
 2. ยาที่มีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำและสารพิษ  เช่น ผงถ่าน (Activated charcoal)
ในการรักษาอาการท้องเดินควรระลึกไว้เสมอว่า หากมีอาการท้องเดินเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และในรายที่มีอาการแบบเฉียบพลัน หากมีอาการรุนแรง โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ควรรีบพบแพทย์ทันที
 
ยาแก้หวัด

โรคหวัดสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา เพราะร่างกายมีกลไกที่จะขจัดเชื้อไวรัสและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายได้เอง แต่ก็เป็นโรคที่ก่อความรำคาญ และรบกวนการทำงานประจำวัน   จึงเป็นสาเหตุให้ประชาชนส่วนมากหาซื้อยามารักษาตนเอง บ่อยครั้งอาจได้รับยาที่เกินความจำเป็น
การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการแทรกซ้อน มักนิยมใช้ยาเดี่ยว ๆ โดยทั่วไปควรพักผ่อนให้มากขึ้น ทำให้ร่างกายอบอุ่น รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และควรดื่มน้ำมาก ๆ หากไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว เพื่อช่วยลดไข้อีกทางหนึ่ง

 ยารักษาโรคหวัดตามอาการ
มีดังนี้

 1. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก (Antihistamines)
     ยาแก้แพ้ที่ใช้ลดน้ำมูก จาม เนื่องจากหวัดและการแพ้อากาศที่ใช้บ่อยและราคาถูก ได้แก่ คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)
ยาเหล่านี้จะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอน ปากแห้ง คอแห้ง ห้ามใช้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด หรือยานอนหลับ เพราะจะเกิดอันตราย
 ปัจจุบันมียาแก้แพ้ที่พัฒนาขึ้นทำให้ไม่ง่วงหรือง่วงน้อยลง แต่ราคาแพงกว่ามาก เช่น เทลเดน (Teldane) คลาริทีน (Clarityne) เป็นต้น
 2. ยาแก้คัดจมูก (Decongestants)
     ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดฝอยที่เยื่อบุภายในจมูกหดตัวทำให้อาการแน่นจมูกดีขึ้น หายใจสะดวกขึ้น
     ยาแก้คัดจมูกมีทั้งชนิดรับประทาน และชนิดหยอดจมูกหรือพ่นจมูก
     ยาในกลุ่มนี้ อาจทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับได้
 3. ยาแก้ปวด-ลดไข้
     ยาที่แนะนำในกรณีที่มีอาการไข้ ปวดศีรษะ คือยาแอสไพริน (Aspirin) และพาราเซตามอล (Paracetamol)
     ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ที่มีประวัติว่าเลือดไหลแล้วหยุดยาก และไม่ควรใช้พาราเซตามอลในผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง
4. ยาปฎิชีวนะ (Antibioties)
     โรคหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฎิชีวนะ ยกเว้นแต่ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ซึ่งสังเกตได้จากการมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว คอแดงจัด เจ็บคอ ปวดหู หรือมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งการใช้ยาปฎิชีวนะต้องดูประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยด้วย
 5. ยาระงับอาการไอ และขับเสมหะ
     โรคหวัดที่มีอาการไอร่วมด้วย อาจไอแห้งหรือไอมีเสมหะก็ได้ ก่อนที่จะเลือใช้ยา ควรเลือกวิธีง่าย ๆ เช่น การดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ จะช่วยทำให้เสมหะเหลวลงและขับออกได้ง่าย

ยาแก้ไอ  อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
     1. ยาระงับอาการไอ (Cough Suppressants) เช่น โคเดอีน (Codeine) หากใช้บ่อยครั้งอาจเกิดการติด หรือเดกซ์โทรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan)
     2. ยาขับเสมหะ (Expectorant agents) เช่น แอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium Chloride) ไกวเฟนีซิน (Guaifenesin) หรือกลีเซอรีลไกวอะโคเลต (glyceryl guaiacolate)
 
ผลิตภัณฑ์ยาสำหรับตา

ปัจจุบันประชาชนมักนิยมซื้อยาตามาใช้เองโดยไม่มีความรู้ว่า ยาสำหรับตานั้นมีหลายประเภทและใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน บางครั้งก็ใช้ยาตาที่มีส่วนผสมของยาปฎิชีวนะและสเตียรอยด์ โดยไม่มีความจำเป็น และก่อให้เกิดผลเสียตามมา เช่น โรคต้อหิน หรือต้อกระจก

ยาที่ใช้บรรเทาอาการเกี่ยวกับตาที่ไม่รุนแรง เช่น อาการเคืองตา คันตา ตาแดง ตาอักเสบชนิดไม่รุนแรง หากเลือกใช้ยาที่เหมาะกับอาการแล้ว ผู้ใช้ยาก็สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัย  ตัวอย่างของยาที่ใช้บรรเทาอาการดังกล่าวได้แก่ ยาแก้แพ้ แก้คัน ซึ่งมักจะมีส่วนผสมของยาที่ทำให้เส้นเลือดหดตัวร่วมด้วย ใช้รักษาอาการของเยื่อตาขาวอักเสบเนื่องจากการแพ้

ไม่ควรใช้ยานี้เป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เยื่อบุตาไม่แข็งแรง
การมีน้ำตาน้อย หรือตาแห้ง ซึ่งมักพบได้ในผู้สูงอายุ อาจใช้น้ำตาเทียม (artificial tear) หยอดบรรเทาอาการได้
 
ผลิตภัณฑ์ยาสำหรับหู

ผลิตภัณฑ์ยาสำหรับหูที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยด้วยตนเองนั้น ควรจำกัดเพียงอาการที่เกิดกับใบหู และช่องหูส่วนนอกเท่านั้น และในการใช้ยาด้วยตนเองนั้น ถ้าไม่หายหรือทุเลาขึ้นภายใน  1-2 วัน ควรจะไปพบแพทย์
โรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้าหรือโรคเชื้อราที่เท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในฤดูฝน ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่ ผิวหนังบริเวณเท้า ง่ามเท้า ผิวหนังจะยุ่ยขาว ลอกออก กลิ่นเหม็นอับ บางทีลามลงไปที่ฝ่าเท้า อาจมีตุ่มน้ำหรือมีหนองเกิดขึ้น
 ยาที่ใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า มีหลายประเภท คือ โรคเชื้อราจะรักษาให้หายได้เร็วขึ้น หากรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้าอยู่เสมอ หมั่นซักถุงเท้า รองเท้า และนำตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อราบ่อย ๆ เพราะความอับชื้นสกปรกจะเป็นบ่อเกิดของเชื้อรา
 
ข้อแนะนำในการใช้ยารักษาตนเอง

 1. ถ้าต้องการใช้ยารักษาตนเอง ควรมีความรู้เรื่องยานั้นดีพอ และควรใช้เฉพาะในช่วงระยะเวลาอันสั้น หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
 2. ในกรณีที่สงสัยว่าแพ้ยา ควรหยุดยาทันที และรีบไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรอย่าเปลี่ยนยาเอง
 3. อย่าใช้ยาซึ่งไม่มีฉลากระบุตัวยา และวิธีการใช้ยา
 4. อย่าหลงเชื่อคำแนะนำจากผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องยาดีพอเป็นอันขาด
 5. ในกรณีต่อไปนี้ อย่ารักษาตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา นอกจากท่านจะสามารถบำบัดอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่รุนแรงได้ด้วยตนเองแล้ว ควรดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการบริโภคอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ


© 1999 ภญ. ศุภศิล สระเอี่ยม

Back To Top © 2001-2009 RxRama ---- All rights reserved.